คำถามที่พบบ่อย

เรื่องร้องเรียน

ผลิตภัณฑ์สุขภาพแต่ละประเภท หากผ่านการขออนุญาตกับ อย. แล้ว บนฉลากจะแสงสัญลักษณ์ที่แสดงถึงการได้รับอนุญาตจาก อย. แล้วต่างกัน ได้แก่

– ผลิตภัณฑ์อาหาร จะแสดงเลขสารบบอาหาร (ตัวเลข 13 หลัก) ในกรอบเครื่องหมาย อย. สำหรับผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปที่บรรจุในภาชนะพร้อมจำหน่าย ไม่กำหนดให้ต้องขอเลข อย. (เสขสารบออาหารในกรอบเครื่องหมาย อย.) แต่สถานที่ผลิตต้องผ่านหลักเกณฑ์ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข โดยสามารถยื่นขอเลข อย.ได้หากต้องการแสดงเครื่องหมาย อย. บนฉลาก

– ผลิตภัณฑ์ยา จะแสดง “เลขทะเบียนตำรับยา” โดยมีข้อความ “ทะเบียนยาเลขที่….” หรือ “Reg .No…..” ซึ่งจะแสดงเป็นตัวอักษรภาษาอังกฤษตามด้วยตัวเลขลำดับที่ขึ้นทะเบียนทับปี พ.ศ.

– ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง จะแสดงเลขที่ใบรับแจ้ง โดยกำหนดให้เป็นเลข 10 หลัก ตัวอย่างเช่น 10.-1-52xxxxX และห้ามนำเลขที่ใบรับแจ้งมาใส่ในกรอบเครื่องหมาย อย.

– ผลิตภัณฑ์เครื่องมือแพทย์

ผลิตภัณฑ์เครื่องมือแพทย์แบ่งระดับการควบคุมตามระดับความเสี่ยงเป็น 3 ประเภท

  1. เครื่องมือแพทย์ที่ต้องมีใบอนุญาต ได้แก่ ถุงยางอนามัย ถุงมือยางสำหรับศัลยกรรม ชุดตรวจเชื้อ HIV คอนแทคเลนส์ ต้องมีเครื่องหมาย อย. บนฉลาก ผ. หมายถึง ผลิต น. หมายถึง นำเข้า
  2. เครื่องมือแพทย์ที่ต้องแจ้งรายการละเอียด ได้แก่ เครื่องที่ใช้เพื่อกายภาพบำบัด เครื่องตรวจวัดระดับแอลกอฮอล์ในร่างกาย เต้านมเทียมซิลิโคน ไม่ต้องมีเครื่องหมาย อย.บนฉลาก แต่ต้องมี “เลขที่ใบรับแจ้ง”
  3. เครื่องมือแพทย์ทั่วไป ได้แก่ เครื่องมือแพทย์ที่นอกเหนือจากนี้ เช่น เตียงผ่าตัด เครื่องตรวจระดับน้ำตาลในเลือด เครื่องตรวจวัดความดันโลหิต เป็นต้น ไม่ต้องแสดงเครื่องหมาย อย. หรือเลขที่ใบรับแจ้งบนฉลาก

-ผลิตภัณฑ์วัตถุอันตรายที่ใช้ในบ้านเรือน อย. กำหนดให้ผลิตภัณฑ์ประเภทนี้บางกลุ่มต้องมีเครื่องหมาย อย. แสดงบนฉลาก โดยในเครื่องหมาย อย. ประกอบด้วยอักษรย่อ วอส. (วัตถุอันตรายที่ใช้ทางสาธารณสุข) ตามด้วยเลขทะเบียนทับปี พ.ศ. แต่ผลิตภัณฑ์วัตถุอันตรายที่ใช้ในบ้านเรือนบางกลุ่มได้รับการยกเว้นไม่ต้องแสดงเครื่องหมาย อย. ได้แก่ ก้อนดับกลิ่น/ลูกเหม็น ผลิตภัณฑ์ลบหรือแก้คำผิดที่มีน้ำเป็นตัวทำละลาย เทปลบคำผิด และน้ำมันตะไคร้หอม (citronella oil) แต่ต้องมีเลขที่ใบรับแจ้งทับปี พ.ศ. ตัวอย่างเช่น เลขที่

สามารถตรวจสอบหรือสืบค้นข้อมูลผลิตภัณฑ์สุขภาพได้ที่ เว็บไซต์สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) www.fda.moph.go.th คลิกเมนู “ตรวจสอบผลิตภัณฑ์” เลือกประเภทผลิตภัณฑ์ที่ต้องการตรวจสอบ

ช่องทางรับเรื่องร้องเรียน

                   (๑) โทรศัพท์ กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคฯ สสจ.ชัยภูมิ 044-811691 ต่อ 301

                   (๒) มาแจ้งด้วยตัวเอง ณ สถานที่รับเรื่องร้องเรียน ศูนย์บริการผลิตภัณฑ์เบ็ดเสร็จ OSSC สสจ.ชัยภูมิ

                   (๓) เว็บไซต์ กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคฯ สสจ.ชัยภูมิ https://cmpfda.moph.go.th/

                   (๔) ส่งจดหมายมาที่ กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคฯ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยภูมิ ที่อยู่280 หมู่15 ถนนชัยภูมิ-แก้งคร้อ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ชัยภูมิ 36000

อย และ สสจ จะส่งเรื่องให้กับพนักงานสอบสวน เพื่อดำเนินคดีตามกฎหมาย

1.สถานประกอบการ และผลิตภัณฑ์ด้านสุขภาพ ตาม พรบ.ดังนี้

  1. พระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510
  2. พระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. 2558
  3. พระราชบัญญัติสมุนไพร พ.ศ.2562
  4. พระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ พ.ศ. 2551
  5. พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ.2535
  6. พระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ.2541
  7. พระราชบัญญัติสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ พ.ศ.2559
  8.  พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522

2.ผู้ประกอบโรคศิลป์

กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยภูมิ

280 หมู่15 ถนนชัยภูมิ-แก้งคร้อ
ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ชัยภูมิ 36000